หัวข้อ   “ คนกรุงกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์หน้าหนาว ช่วงไฮซีซั่น
คนกรุงเทพฯ 79.8% มีแผนที่จะไปเที่ยวไทยช่วงหน้าหนาว โดย 70.2% สนใจมากกับการท่องเที่ยว
เชิงสร้างสรรค์ในไทย แต่หวั่นปัญหาเศรษฐกิจ ข้าวของแพง ทำบรรยากาศท่องเที่ยวแย่
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความ
คิดเห็นประชาชนเรื่อง “คนกรุงกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์หน้าหนาว ช่วง
ไฮซีซั่น
” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้กลุ่ม
ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,177 คน พบว่า แม้จะมีข่าวว่าปีนี้อากาศจะหนาวเย็นกว่า
ปีที่ผ่านมา ก็ไม่ได้มีผลให้คนกรุงเทพฯ ตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวมากกว่าปี
ที่ผ่านมา โดยร้อยละ 56.7
เห็นว่าจะมีผลพอๆกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 21.8
เห็นว่าจะมีผลมากกว่าปีที่ผ่านมา และร้อยละ 21.5 เห็นว่าจะมีผลน้อยกว่าปีที่ผ่านมา
 
                 เมื่อถามความเห็นต่อปัจจัยที่อาจทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวแย่ลง
มากที่สุด ในช่วงหน้าหนาวนี้ คือ ปัญหาเศรษฐกิจ /ข้าวของราคาแพง /เงินขาด
กระเป๋า (ร้อยละ 53.7)
  เกิดการชุมนุมทางการเมือง (ร้อยละ 19.3) และการโก่งราคา
ในพื้นที่ท่องเที่ยว (ร้อยละ 11.2)
 
                 สำหรับการวางแผนที่จะไปท่องเที่ยวเมืองไทย ในช่วงหน้าหนาวนี้
พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 79.8 มีแผนที่จะไปท่องเที่ยว  ขณะที่ร้อยละ 20.2 ไม่มีแผนที่จะไป โดยให้เหตุผลว่าต้อง
ทำงานไม่มีเวลา (ร้อยละ 10.5) ข้าวของ น้ำมัน ที่พัก อาหาร ราคาแพง (ร้อยละ 4.4) และไม่มีเงิน มีภาระค่าใช้จ่ายมาก
เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ (ร้อยละ 3.6)
 
                 เมื่อถามว่าถ้าเป็นไปได้ปีนี้อยากไปเที่ยวเพื่อรับบรรยากาศหน้าหนาวกับใครมากที่สุด ร้อยละ 40.4
ระบุว่า พ่อแม่/ ลูก
  รองลงมาร้อยละ 21.3 ระบุว่าเพื่อน และร้อยละ 19.2 ระบุว่าญาติ พี่น้อง  โดยร้อยละ 24.0 ระบุว่า
งบประมาณที่คาดว่าจะใช้ในการท่องเที่ยวหน้าหนาวปีนี้ ต่อครั้งต่อคนน่าจะอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาท
รองลงมา
คือ 10,000 บาท  และ 3,000 บาท
 
                  ด้านความเห็นต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีบทบาทมากน้อยเพียงใด ในการกระตุ้น
การท่องเที่ยวในประเทศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 64.7 ยังไม่ค่อยเห็นบทบาท
  ขณะที่ร้อยละ 26.8 เห็น
บทบาทมาก  และร้อยละ 8.5 ไม่เห็นบทบาทเลย
 
                  สุดท้ายเมื่อถามความเห็นว่าปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
มากน้อยเพียงใด คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.7 เห็นว่าค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
  ขณะที่ร้อยละ 49.3 เห็นว่า
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด  และเมื่อถามต่อว่าหากมีการจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย
สนใจจะไปเที่ยวในลักษณะดังกล่าวมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 70.2 สนใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
  ขณะที่ร้อยละ
29.8 เห็นว่าสนใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  รายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
             1. ความเห็นจากข่าวที่ว่าปีนี้อากาศจะหนาวเย็นมากกว่าปีที่ผ่านมา จะมีผลให้เดินทางไปท่องเที่ยว
                 มากกว่าปีที่ผ่านมาหรือไม่


 
ร้อยละ
มากกว่าปีที่ผ่านมา
21.8
พอๆ กับปีที่ผ่านมา
56.7
น้อยกว่าปีที่ผ่านมา
21.5
 
 
             2. ความเห็นต่อปัจจัยที่อาจทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยว ในช่วงหน้าหนาวนี้แย่ลง พบว่า

 
ร้อยละ
ปัญหาเศรษฐกิจ /ข้าวของราคาแพง /เงินขาดกระเป๋า
53.7
เกิดการชุมนุมทางการเมือง
19.3
การโก่งราคาในพื้นที่ท่องเที่ยว
11.2
ความแห้งแล้ง (ภัยแล้ง)
8.6
โรคระบาด
4.5
เกิดการปฏิวัติ /รัฐประหาร
2.7
 
 
             3. การวางแผนที่จะไปท่องเที่ยวเมืองไทย ในช่วงหน้าหนาวนี้พบว่า

 
ร้อยละ
คาดว่าจะไป
79.8
ไม่มีแผนที่จะไป
โดยให้เหตุผลว่า
- ต้องทำงานไม่มีเวลา
ร้อยละ 10.5
 
- ข้าวของ น้ำมัน ที่พัก อาหาร ราคาแพง
ร้อยละ 4.4
 
- ไม่มีเงิน มีภาระค่าใช้จ่ายมาก เช่น
  ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ
ร้อยละ 3.6
 
- มีแผนจะไปเที่ยวต่างประเทศ
ร้อยละ 1.0
 
- มีปัญหาสุขภาพ
ร้อยละ 0.7
20.2
 
 
             4. ความเห็น “หากเป็นไปได้ปีนี้อยากไปเที่ยวเพื่อรับบรรยากาศหน้าหนาวกับใครมากที่สุด”

 
ร้อยละ
พ่อแม่ / ลูก
40.4
เพื่อน
21.3
ญาติ พี่น้อง
19.2
คนรัก
19.1
 
 
             5. งบประมาณที่คาดว่าจะใช้ในการท่องเที่ยวหน้าหนาวปีนี้ (ต่อครั้งต่อคน) (5 อันดับแรก)
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
10,000 บาท
19.4
5,000 บาท
24.0
4,000 บาท
5.8
3,000 บาท
12.7
2,000 บาท
9.0
 
 
             6. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีบทบาทมากน้อยเพียงใด ในการกระตุ้นการท่องเที่ยว
                 ในประเทศ เช่น กิจกรรม/โฆษณาส่งเสริมการท่องเที่ยว แพคเกจทัวร์ราคาถูก และการยกระดับ
                 มาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยว

 
ร้อยละ
เห็นบทบาทมาก
26.8
ยังไม่ค่อยเห็นบทบาท
64.7
ไม่เห็นบทบาทเลย
8.5
 
 
             7. ความเห็นต่อปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มากน้อยเพียงใด
                 (การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์คือ การท่องเที่ยวอย่างกลมกลืนและสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์
                 วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีต่างๆ ในชุมชน)


 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
     ( โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 40.9 และมากที่สุดร้อยละ 8.4 )
49.3
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
     ( โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 43.6 และน้อยที่สุดร้อยละ 7.1 )
50.7
 
 
             8. หากมีการจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย ท่านสนใจจะไปเที่ยว
                 ในลักษณะดังกล่าวมากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
สนใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
     ( โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 53.0 และมากที่สุดร้อยละ 17.2 )
70.2
สนใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
     ( โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 25.1 และน้อยที่สุดร้อยละ 4.7 )
29.8
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน ในเรื่องปัญหาที่อาจทำให้บรรยากาศ การท่องเที่ยวในช่วงหน้าหนาว
แย่ลง การวางแผนที่จะไปท่องเที่ยวเมืองไทยในช่วงหน้าหนาว งบประมาณที่คาดว่าจะใช้ในการท่องเที่ยว บทบาทของการ
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการกระตุ้นการท่องเที่ยว และการให้ความสำคัญและความสนใจในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน
26 เขต จากทั้งหมด 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสาน จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต
ตลิ่งชัน ธนบุรี บางกะปิ บางเขน บางแค บางซื่อ บางนา บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง ยานาวา ราชเทวี
ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง สาทร หนองแขม หลักสี่ และห้วยขวาง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage
Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,177 คน เป็นชายร้อยละ
48.9 และหญิงร้อยละ 50.1
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็น
ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามแบบปลายเปิด จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  8 - 11 พฤศจิกายน 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 15 พฤศจิกายน 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
576
48.9
             หญิง
601
51.1
รวม
1,177
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
340
28.9
             26 – 35 ปี
313
26.6
             36 – 45 ปี
257
21.8
             46 ปีขึ้นไป
267
22.7
รวม
1,177
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
580
49.3
             ปริญญาตรี
524
44.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
73
6.2
รวม
1,177
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
129
10.7
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
351
29.8
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
297
25.3
             รับจ้างทั่วไป
117
9.9
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
60
5.1
             นักศึกษา
183
15.6
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
43
3.6
รวม
1,177
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776